Page 103 - GPF Annual Report 2018
P. 103

ผลการดำาเนินงาน ปี 2561                                        กองทุนบำ�เหน็จบำ�น�ญข้�ร�ชก�ร  101








                           ปัจจัย ESG ที่ กบข. จะน�ามาพิจารณาประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน เช่น










                          สิ่งแวดล้อม                        สังคม                       ด้านธรรมาภิบาล
                      (Environmental)                       (Social)                     (Governance)



                  • นโยบายสิ่งแวดล้อม            • สิทธิของผู้บริโภค              • โครงสร้างคณะกรรมการ
                  • การจัดการสิ่งแวดล้อม         • ความรับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้บริโภค   • นโยบายและโครงสร้างค่าตอบแทนกรรมการ
                  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ    ผู้มีส่วนได้เสีย และความปลอดภัย  • สิทธิของผู้ถือหุ้น
                  • การลดลงอย่างรวดเร็วของทรัพยากร      ของผลิตภัณฑ์              • บัญชี / การตรวจสอบ
                    ธรรมชาติ                     • การปฏิบัติต่อพนักงานและลูกจ้าง  • จริยธรรมทางธุรกิจ
                  • ความหลากหลายทางชีวภาพ          อย่างเป็นธรรม                  • การติดสินบนและการทุจริตประพฤติมิชอบ
                  • การจัดการน�้า                • ความสัมพันธ์กับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสีย   • ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
                  • การจัดการของเสีย             • การน�านวัตกรรมมาใช้สร้างโอกาส  • การเปิดเผยข้อมูลส�าคัญที่เกี่ยวข้อง
                  • การน�านวัตกรรมมาใช้สร้างโอกาส  • การแข่งขันอย่างเป็นธรรม        กับบริษัทอย่างครบถ้วน โปร่งใส ทันเวลา
                                                                                    ผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย







                     หลักปฏิบัติที่ 4  เพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน เมื่อเห็นว่า

                                            การติดตามในหลักปฏิบัติที่ 3 ไม่เพียงพอ

                                            (Escalating Investee Companies)





                           กบข. เข้าประชุมหารือกับผู้บริหารของบริษัทที่ กบข. ลงทุน (Engagement) เพื่อติดตามการด�าเนินงาน
                     ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการก�ากับดูแลกิจการตามหลักธรรมาภิบาล (ESG) และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
                     เป็นประจ�าทุกปี โดย กบข. เชื่อว่าการเข้าประชุมหารือกับบริษัทจะสามารถชี้ให้บริษัทเห็นความส�าคัญของการน�าปัจจัย
                     ESG มาบูรณาการในการด�าเนินกิจการ และเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับนักลงทุนโดย กบข. จะ
                     พิจารณาเข้าหารือกับบริษัท เมื่อ
                           •  กบข. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการด�าเนินงานด้าน ESG ของบริษัท ที่รวมไปถึงโอกาส
                     ในการด�าเนินธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงและการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัย ESG
                           •  บริษัทมีประเด็น ESG ที่ควรแก้ไขปรับปรุงหรือเป็นประเด็นปัญหา โดย กบข. จะเข้าหารือเพื่อติดตามการแก้ไข
                     ปัญหาของบริษัท ซึ่งจะต้องเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ และก�าหนดมาตรการป้องกันการเกิดเหตุซ�้าในอนาคต
                           อย่างไรก็ตาม หากบริษัทที่มีประเด็น ESG เพิกเฉยหรือไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเพียงพอ กบข.
                     อาจพิจารณาด�าเนินการอื่นเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น การมีหนังสือถึงคณะกรรมการบริษัทเพื่อแจ้งจุดยืนของ
                     กบข. ในประเด็นดังกล่าว การเผยแพร่ความเห็นต่อสาธารณชน หรือการร่วมมือกับนักลงทุนสถาบันรายอื่น (Collective
                     Engagement) ในการด�าเนินการเรียกร้องให้มีการแก้ไข เช่น การร่วมกันประกาศท่าทีของกลุ่มนักลงทุนสถาบัน
                     หรือการร่วมกันก�าหนดแนวทางการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทในประเด็นที่มีปัญหา เป็นต้น ทั้งนี้
                     ถือเป็นการเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุนและกระตุ้นเตือนให้บริษัทแก้ไขปรับปรุงประเด็นปัญหาดังกล่าว
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108