14. ใช้เครื่องมือช่วยออมและลงทุนสมำ่าเสมอ

หากเริ่มต้นออมเงินหรือลงทุนแล้วควรรทำาสมำ่าเสมอ

ทุกเดือน หากกลัวลืมแนะนำาให้ใช้เครื่องมือทางการเงินช่วย 

เช่น บริการหักบัญชีอัตโนมัติทุกเดือนจากบัญชีเงินเดือน 

เข้าบัญชีเงินฝากหรือกองทุนรวมที่ต้องการ เพียงเท่านี้

ก็จะไม่พลาดการออมหรือการลงทุนสมำ่าเสมอ แนะนำา

ให้หักวันที่เงินเดือนออกเลยจะช่วยให้เราออมก่อนใช้มี

เงินออมต่อยอดได้แน่นอน 

15. ลงมือทำาตามแผนที่วางไว้

กำาหนดสิ่งที่ต้องทำาตามแผน อย่าลืมกำาหนดแผนการเพื่อ

ให้ได้ตามเป้าหมายด้วย เช่น ต้องออมเงินให้ได้เดือนละ 

5,000 บาท เป็นเวลา 2 ปี เพื่อดาวน์บ้าน หรือ วางแผน

ปลดหนี้ โดยจ่ายยอดคงค้างในบัตรเครดิตให้ได้เดือนละ 

5,000 บาท เพื่อให้หมดหนี้ภายใน 10 เดือน เป็นต้น 

16. เรียนรู้เรื่องการเงินอย่างสมำ่าเสมอ

ปัจจุบันนี้มีความรู้ด้านการเงินให้เราศึกษาได้หลากหลาย

ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เข้าร่วมงานสัมมนา เข้าเรียน

ออนไลน์ อ่านบทความบนเว็บไซต์ ดูคลิปวิดีโอ เป็นต้น 

ดังนั้น ควรตั้งเป้าหรือวางแผนเรียนรู้อย่างสมำ่าเสมอ เช่น 

อ่านบทความบนเว็บไซต์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ เข้าร่วม

งานสัมมนาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เป็นต้น  หากไม่เริ่ม

ก็ไม่ได้เรียนรู้สักทีอย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป มารู้อีกที

อาจจะสายเกินไป 

17. ทบทวนรายได้และรายจ่ายอย่างสมำ่าเสมอ

เพื่อให้เรารู้ว่าค่าใช้จ่ายและการออมเงินเพื่อเป้าหมาย

ต่าง ๆ ของเรา สอดคล้องกับรายได้หรือไม่ หากรายได้ไม่พอ

ควรมองหาแหล่งรายได้เสริมในวันหยุด โดยเริ่มจากสิ่งที่

เราชอบ เช่น ชอบทำาขนมก็ทำาขนมขายเป็นรายได้พิเศษ 

แต่ทั้งนี้งานพิเศษที่ทำาก็ไม่ควรกระทบกับงานประจำา 

ไม่อย่างนั้นอาจทำาให้เสียงานได้   

18. หาตัวช่วยชดเชยความเสี่ยง

ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิด

อะไรขึ้น ดังนั้นนอกจากวางแผนออมเงินหรือลงทุนแล้ว 

อย่าลืมวางแผนป้องกันความเสี่ยงด้วย เช่น การทำาประกัน

ชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ  ประกันรถยนต์ 

หรือประกันทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อช่วยชดเชยหากเกิดจาก

ไปก่อน คนที่รักจะไม่เดือดร้อน หรือ หากเจ็บป่วยไม่สบาย

จะได้ไม่กระทบกับเงินออมที่มี 

19. อย่าลืมวางแผนเกษียณ

ทุกเป้าหมายมีความสำาคัญแต่อย่าลืมเป้าหมายเกษียณ 

เนื่องจากยามเกษียณเป็นช่วงที่ไม่มีรายได้แต่ยังคงมีค่า

ใช้จ่ายเยอะมาก ดังนั้นควรเริ่มต้นออมเงินเพื่อเกษียณ

ตั้งแต่อายุยังน้อยหรือตั้งแต่ในช่วงวัยทำางาน หากมาเร่ง

ออมช่วงใกล้เกษียณจะทำาให้เรามีเงินไม่พอใช้ได้ 

20. หาเพื่อนหรือหาที่ปรึกษา

ถ้าเรียนรู้เองยังไม่มั่นใจ แนะนำาให้ลองหาเพื่อนหา หรือ

ที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเงินที่ไว้ใจสักคน 

เพื่อที่จะคอยให้คำาแนะนำาเราได้ นอกจากช่วยประหยัด

เวลาแล้ว ยังช่วยทำาให้เรามั่นใจมากขึ้น สำาหรับสมาชิก 

กบข. ที่สนใจอยากได้ที่ปรึกษาส่วนตัว สามารถนัดหมาย

ศูนย์ข้อมูลการเงินได้ที่ My GPF Application เมนู 

นัดหมายบริการข้อมูลการเงิน ... 

10. ตั้งเป้าออมเงินอย่างจริงจัง

สิ่งที่ยากที่สุดสำาหรับการออมเงิน คิดว่าคงเป็นการเอาชนะ

ใจตัวเอง จะทำาอย่างไรถึงจะบังคับตัวเอง เริ่มจากการ

สร้างเป้าหมายที่มีพลังใส่เหตุผลของเป้าหมายให้ชัด ว่าเรา

ต้องการมันจริงๆหรือไม่ ต้องการเพราะอะไร เช่น ซื้อบ้าน

ให้พ่อแม่  ซื้อรถเพื่อใช้เดินทางไปทำางาน เก็บเงินไว้ใช้

ยามเกษียณจะได้ไม่ลำาบากตอนแก่  หากเรามีเป้าหมาย

ชัดเจนสำาหรับการออมเงิน ว่าเราต้องการออมเงินไป

เพื่ออะไร เราก็ใช้เป้าหมายเหล่านี้มาเตือนตัวเอง คิดถึง

เป้าหมายทุกครั้งก่อนจะคิดจะใช้เงินรับรองว่าสามารถ

เอาชนะใจตัวเองได้อย่างแน่นอน

11. วางแผนปลดหนี้

เริ่มจากทำาบันทึกแจกแจงหนี้ โดยเรียงลำาดับจากเจ้าหนี้

ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เมื่อเรียงลำาดับได้แล้ว ให้

วางแผนเล็งเป้ากำาจัดหนี้ทีละตัว โดยเริ่มจากหนี้ที่มีอัตรา

ดอกเบี้ยสูงก่อน แต่หากอัตราดอกเบี้ยเท่ากันให้กำาจัดหนี้

ที่มียอดคงเหลือน้อยก่อนเพื่อลดภาระผ่อนไปทีละ

รายการ จะทำาให้เรามีกำาลังใจมากขึ้น

12. รีไฟแนนซ์หรือขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน

 

สำาหรับคนที่มีหนี้บ้าน หรือ ขอกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคาร 

อย่าลืมทบทวนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุก ๆ 3 ปี  เนื่องจาก

ยอดกู้ซื้อบ้านเป็นจำานวนสูง ทำาให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายใน

แต่ละปีมีจำานวนเยอะ ปัจจุบันสัญญาเงินกู้บ้านของแต่ละ

ธนาคารส่วนใหญ่เมื่อครบ 3 ปี เปิดโอกาสให้สามารถ

ย้ายธนาคารหรือขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคาร

เดิมได้ ดังนั้นเมื่อครบ 3 ปี ควรพิจารณาเปรียบเทียบ

ก่อนว่าอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายของธนาคารใหม่ที่จะ

รีไฟแนนซ์ กับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารเดิมที่ปรับลด

ให้ แบบใดคุ้มค่ากว่ากัน ก็เลือกวิธีนั้นเพื่อช่วยลดภาระ

ดอกเบี้ยจ่ายแถมยังทำาให้ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้นได้อีกด้วย

13. เริ่มต้นลงทุน

 

การออมเงินอย่างเดียวอาจจะทำาให้เราไม่ถึงเป้าหมาย 

โดยเฉพาะเป้าหมายระยะยาว ดังนั้นเราต้องเริ่มลงทุน

โดยเริ่มจากลงทุนง่าย ๆ ผ่านกองทุนรวมก่อน ถ้ายังไม่มี

เวลาศึกษาข้อมูลมากนัก แนะนำาให้เริ่มลงทุนในกองทุน

รวมตลาดเงินก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงตำ่า มีโอกาสได้

ผลตอบแทนมากกว่าออมทรัพย์ และที่สำาคัญจะช่วยทำาให้

เราเริ่มต้นเข้าใจกลไกของการลงทุนง่าย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว ลงทุนในรูปแบบอื่นเพิ่มขึ้น  

14