13

ปีนี้...

คุณได้วางแผนการเงินยังไงกันบ้าง ซึ่งการ

วางแผนการเงินนั้น นอกจากจะช่วยให้รู้ตัวว่าควรใช้จ่าย
ยังไงแล้ว ยังช่วยให้ถึงเป้าหมายทางการเงินได้อีกด้วย

Money Buddy มี 20 Tips เพื่อช่วยเป็นแนวทางในการ

บริหารเงินให้สมาชิก และช่วยให้ถึงเป้าหมายทางการเงิน
ได้ด้วย

1. พกเงินน้อยลง

หากคุณเป็นอีกคนที่ใช้เงินเก่ง แต่เก็บเงินไม่เก่ง มีเท่าไหร่

ใช้ได้หมดเท่านั้น ควรพกเงินติดตัวจำานวนน้อยกว่าที่เคย 

หรืออาจคำานวณค่าใช้จ่ายต่อสัปดาห์ แบ่งการใช้รายวัน 

พกเงินพอดีเท่านั้น และคอยเตือนตัวเองว่านี่คือเงินที่ต้อง

ใช้ทั้งสัปดาห์ ไม่ใช่ใช้หมดใน 1 วัน ก็จะสามารถช่วยคุณ

ควบคุมค่าใช้จ่ายทำาให้มีเงินออมมากขึ้นได้

9. เปิดบัญชีฝากประจำาปลอดภาษี

หากเราเป็นคนที่ใจอ่อนกับตัวเอง วิธีการบังคับตัวเองให้

ออมเงินอีกอย่าง คือ การเปิดบัญชีเงินฝากประจำาทุกเดือน

อาจจะเริ่มจากจำานวนน้อยก่อนแนะนำา 10-30% ของ

รายได้ แล้วค่อยขยับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แนะนำาให้สมัครใช้ระบบ

การตัดยอดเงินอัตโนมัติจากบัญชีเงินเดือนตามจำานวน 

และระยะเวลาที่เราต้องการ แล้วนำาฝากเข้าบัญชีฝาก

ประจำาปลอดภาษีเป็นเวลา 24 เดือน นอกจากจะได้

ดอกเบี้ยสูงกว่าฝากประจำาทั่วไปแล้ว ดอกเบี้ยที่ได้รับ

ยังได้รับยกเว้นภาษีอีกด้วย 

4. ใช้แอพช่วยทำาบันทึกรายรับรายจ่าย

ความทันสมัยของเทคโนโลยีก็ช่วยให้เราออมเงินได้ 

เพราะทั้งในระบบ IOS และ Android มีแอพบันทึก

รายรับรายจ่ายเหมาะสำาหรับออมเงิน ตัวอย่างเช่น แอพ 

Spendee , Money Book หรือ piggipo ที่ช่วยบันทึก

รายการการใช้บัตรเครดิตได้ ก็ทำาให้ช่วยเราบริหารจัดการ

เรื่องการใช้เงินได้ง่ายขึ้น

5. เก็บก่อนใช้

เป็นวิธีการเริ่มต้นง่ายๆ ของคนอยากมีเงินออม ใคร ๆ ก็

ทำาได้ เห็นผลง่าย ด้วยการบังคับตัวเองไม่ให้เอาเงินส่วนนี้

ไปใช้ เมื่อเงินเดือนออก แบ่ง 10% ของเงินเดือนเพื่อเป็น

เงินออมทันที และเงินก้อนนี้เพื่อการออมอย่างเดียวเท่านั้น

ห้ามเอาออกมาใช้เด็ดขาด ส่วนที่เหลือ ก็แบ่งเป็นส่วน ๆ 

เพื่อจ่ายหนี้ จ่ายค่าใช้จ่ายรายเดือนต่าง ๆ และใช้จ่าย

ประจำาวัน วิธีการออมเงินแบบนี้เป็นวิธีที่จะสามารถช่วย

เราสร้างวินัยในการออมเงินได้

6. หยอดกระปุกออมสิน

ควรแบ่งกระปุกออมสินออกเป็นหลาย ๆ จุดประสงค์ แต่ละ

กระปุกก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกันไป หากกระปุกออมสิน

มาหลาย ๆ ใบ นำากระดาษเขียนจุดประสงค์การเก็บเงิน

ของแต่ละกระปุกมาแปะไว้ที่กระปุก เช่น สำาหรับเที่ยว

สงกรานต์ ซื้อนาฬิกาใหม่ ซื้อโทรศัพท์ใหม่ ซื้อแล็บท็อปใหม่

เป็นต้น อย่าลืมแบ่ง 1 กระปุกไว้สำาหรับการออมเงินด้วย

อาจจะแบ่งหยอดกระปุก วันละ 10-20 บาทต่อกระปุก

หยอดโดยแบ่งจากจำานวนเงินที่เหลือใช้รายวันหรือ

รายสัปดาห์

7. เก็บแบงค์ 50 บาท

เป็นวิธีออมเงินที่ง่ายอีกอย่างที่เราสามารถทำาได้วันนี้

เลย ได้แบงก์ 50 บาทมาเมื่อไหร่เก็บเมื่อนั้น เก็บหยอด

กระปุกหรือหากล่องเก็บไว้ เต็มเมื่อไหร่ก็นำาเงินส่วนนี้ไป

ฝากธนาคาร นอกจากจะช่วยให้มีสีสันในชีวิตทุกครั้งที่

เจอแบงก์ 50 บาทแล้วยังช่วยให้เรามีเงินออมได้อีกด้วย 

8. ออมเงินตามจำานวนวัน

 

กลับมาที่สายหยอดกระปุก แต่วิธีนี้จะเน้นไปที่การหยอด

ตามวันที่ในปฎิทิน เช่นวันที่ 1 ก็หยอดไป 1 บาท วันที่ 

2 3 4 จำานวนเงินก็ตามวันนั้นไปเลย พอครบสิ้นเดือนก็

เริ่มต้นนับวันหยอดของเดือนใหม่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ หรือ

จะหยอดตามวันที่เหมือนเดิม แต่จะทบเพิ่มอีก 1 บาท

ไปเรื่อย ๆ จนถึงสิ้นปี ก็จะมีเงินเก็บเกือบ 70,000 บาท

กันเลยทีเดียว

2. จำากัดใช้บัตรเครดิต

จำากัดการใช้บัตรเครดิตเพื่อชำาระค่าใช้จ่ายประจำาเดือน

เท่านั้น  เช่น ค่าเช่า ค่านำ้า ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือ สินค้า

ชิ้นใหญ่ที่จำาเป็นเท่านั้น ไม่ควรใช้บัตรเครดิตในการ

ช็อปปิ้งสินค้าฟุ่มเฟือย เพราะจะทำาให้จำานวนเงินในการ

รูดบัตรเครดิตรวมกันแล้วเยอะ ทำาให้ควบคุมค่าใช้จ่ายไม่

ได้ หากจ่ายได้แค่ขั้นตำ่าบัตรเครดิต อาจต้องเสียดอกเบี้ย

สูงมีหนี้สะสมเพิ่มพูนมากขึ้น ดังนั้นควรตั้งสติก่อนใช้และ

จดไว้ทุกครั้งเพื่อไม่ให้ใช้มากเกินจนจ่ายไม่ไหว

3. ตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายไม่จำาเป็น

ด้วยการทำาบันทึกรายจ่าย เพื่อจะได้รู้ว่าในแต่ละเดือน

เราใช้เงินไปเท่าไหร่ มีรายการใดบ้างเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่

จำาเป็น ควรปรับลดหรือควบคุมไม่ให้เกินงบประมาณได้ 

ตัวอย่างเช่น ต้องใช้เงินซื้อ กาแฟ ชา  ถ้าซื้อเป็นประจำา 

เราจะไม่รู้ว่าเราหมดเงินไปเท่าไหร่ แต่ถ้าเราตั้งเป้าลด 

เช่น ซื้อกาแฟทุกวันวันละ 80 บาท เปลี่ยนมาซื้อกาแฟ

แก้วละ 50 บาท หรือเปลี่ยนเป็นกาแฟผงชงเอง ปรับเปลี่ยน

ทีละนิดก็จะทำาให้เราควบคุมเงินในกระเป๋าของเราได้ 

Money Buddy

by : ศูนย์ข้อมูลการเงิน กบข.

20 Tips

 

การบริหารเงิน