GPF JOURNAL

11

 

ดัชนีการสูงอายุ

คือ อัตราส่วนประชากร

สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ต่อประชากรวัยเด็ก (อายุ

ตำ่ากว่า 15 ปี) 100 คน เพิ่มจาก 22.6% ในปี 2537

เป็น 97.0% ในปี 2560

 

อัตราส่วนเกื้อหนุน 

คือ อัตราส่วนประชากร

วัยทำางาน (อายุ 15–59 ปี) เทียบกับประชากรสูงอายุ

(อายุ 60 ปีขึ้นไป) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ

การเกื้อหนุนที่คนในวัยทำางานจะสามารถดูแลผู้สูง

อายุ 1 คน โดยในปี 2560 ลดลงเหลือเพียง 3.9 นั่น

หมายความว่า มีคนที่อยู่ในวัยแรงงานเพียง 4 คน จะ

เลี้ยงดูผู้สูงอายุ 1 คน

 

อัตราส่วนพึ่งพิงวัยสูงอายุ

คือ อัตราส่วน

ประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ต่อประชากรวัย

ทำางาน (อายุ 15-59 ปี) 100 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อ

เนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 18.1% ในปี 2554 เป็น 22.3%

ในปี 2557 และเพิ่มขึ้นเป็น 25.3% ในปี 2560

เท่ากับว่า “ประชากรวัยทำางาน 100 คน จะต้องรับ

ภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุประมาณ 25 คน”

หลายคนอาจจะมีคำาถามว่า ทำาไมเราต้อง “สนใจ”

การเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าเรายัง

ไม่ใช่ผู้สูงวัย... ทำาไมต้องแคร์

แต่เราอาจจะไม่รู้ว่า นี่คือ “ความรับผิดชอบ

ร่วมกัน” เพราะรัฐบาลต้องดูแลประชาชนผู้สูงอายุด้วย

งบประมาณที่มากขึ้น จากเงินภาษีของประชาชนที่มี

รายได้ เพราะฉะนั้นการเข้าสูงสังคมสูงวัยจึงไม่ได้เป็น

เพียง “ภาระให้ลูกหลาน” แต่ยังเป็น “ภาระของรัฐบาล”

และ “ผู้เสียภาษี” ด้วย

สำานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

เคยประเมินภาระงบประมาณด้านสวัสดิการชราภาพ

ที่จะต้องดูแล ซึ่งประกอบด้วยเงินบำาเหน็จบำานาญ

ข้าราชการ เบี้ยยังชีพคนชรา เงินสมทบกองทุน

บำาเหน็จบำานาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกัน

สังคม และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ว่า

ในปี 2564 รัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณทั้งหมดเกือบ

6 แสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง

8.73 แสนล้านบาท หรือ เกือบ 3% ของจีดีพีในปี 2568

ภาระงบประมาณด้านสวัสดิการชราภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

อาจกระทบเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว 

ที่มา :  สำานักนโยบายการคลัง และสำานักนโยบายการออมฯ สำานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง