แม้รัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะได้ปรับเปลี่ยน

ระบบบำาเหน็จบำานาญไปเป็นระบบกองทุนสำารอง

เลี้ยงชีพแล้วก็ตาม แต่ภาระผูกพันที่เกิดจากระบบ

บำาเหน็จบำานาญเดิมยังคงมีอยู่ โดยที่ยอดภาระ

บำาเหน็จบำานาญแบบเก่าของรัฐวิสาหกิจทั้ง 7 แห่ง

ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน กทท. รฟท. การบิน

ไทย กสท. ทีโอที และ บริษัทขนส่ง มีรวมกันกว่าแสน

ล้านบาท การบริหารจัดการภาระดังกล่าวยังถือว่า

เป็นประเด็นปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพ เนื่องจาก

ภาระดังกล่าวถูกบันทึกไว้เป็นภาระหนี้สินในทาง

บัญชีเท่านั้น ไม่ได้มีการจัดตั้งกองทุนแยกออกมาเพื่อ

บริหารจัดการเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด หากองค์กร

ไม่สามารถบริหารสินทรัพย์ให้เติบโตทันกับภาระ

หนี้สินบำาเหน็จบำานาญซึ่งเติบโตเพิ่มขึ้นตามจำานวน

พนักงานที่ทยอยเกษียณและมีอายุขัยหลังเกษียณที่

ยืนยาวขึ้นแล้ว องค์กรย่อมเสี่ยงที่จะไม่มีเงินเพียงพอ

ในการจ่ายบำาเหน็จบำานาญให้กับพนักงานเหล่านี้ใน

อนาคต

หากนำาเอาโมเดลการแก้ปัญหาภาระบำาเหน็จ

บำานาญขององค์กรในต่างประเทศมาใช้เทียบเคียง

เราอาจสรุปแนวทางการแก้ปัญหาระบบบำาเหน็จ

บำานาญรัฐวิสาหกิจได้เป็น 3 แนวทางดังนี้ คือ

1.

 การแปลงภาระบำานาญเป็นบำาเหน็จ

คือ

การมีข้อตกลงระหว่างผู้มีสิทธิ์รับบำานาญและองค์กร

ในการแปลงกระแสบำานาญให้เป็นเงินก้อน (บำาเหน็จ)

ที่พึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย ภายใต้ข้อสมมติฐานต่างๆ

เช่น อัตราดอกเบี้ยส่วนลดและอายุขัยหลังเกษียณ

เป็นต้น ข้อดีของวิธีการนี้คือ ผู้มีสิทธิ์ในบำานาญจะ

ได้เงินก้อนไปใช้จ่ายหรือบริหารจัดการเองตามความ

ประสงค์ ส่วนองค์กรจะปิดความเสี่ยงขององค์กรจาก

ภาระเงินบำานาญที่มาก ยาวนานและไม่แน่นอนใน

อนาคต องค์กรสามารถเลือกจัดการกับภาระดังกล่าว

ได้ในขณะที่สถานะทางการเงินขององค์กรยังเอื้อ

อำานวยอยู่

 

2.

 การโอนความเสี่ยงให้กับผู้รับจ้าง

ซึ่งโดย

มากจะเป็นบริษัทประกันชีวิต วิธีการนี้ องค์กรจะส่ง

มอบเงินก้อน (ซึ่งเทียบเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของภาระ

บำาเหน็จบำานาญ) ให้แก่บริษัทประกันฯ เพื่อบริหาร

จัดการแทน วิธีการนี้ ผู้มีสิทธิ์ในเงินบำานาญจะรับผล

ประโยชน์โดยตรงจากบริษัทประกันฯ แทนที่จะรับ

จากองค์กร โดยที่สิทธิประโยชน์ต่างๆ ยังคงเหมือน

เดิม วิธีการนี้ แม้จะเป็นการปลดเปลื้องภาระจาก

องค์กรได้ แต่บริษัทประกันชีวิต ซึ่งบริหารจัดการ

แบบอนุรักษ์นิยมมักจะมีอำานาจต่อรองสูง และ

สุดท้าย ภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมักจะถูกผลักกลับมายัง

องค์กร

ภาพรวมของภาระบําเหน็จบํานาญ

รัฐวิสาหกิจและประเด็นปัญหา

แนวทางการแก้ปัญหา

1

2

GPF JOURNAL

7