ในระหว่างปี 2539 - 2542 ได้มีรัฐวิสาหกิจ

บางแห่งทยอยปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการเพื่อการ

ชราภาพไปเป็นระบบกองทุนสำารองเลี้ยงชีพ เช่น การ

สื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) องค์การโทรศัพท์

แห่งประเทศไทย (ทีโอที) การบินไทย องค์กรเหล่านี้

ได้ให้พนักงานในระบบบำาเหน็จเดิมเลือกที่จะอยู่ใน

ระบบเดิมหรือเข้าสู่ระบบกองทุนสำารองเลี้ยงชีพก็ได้

โดยมีมาตรการจูงใจให้เข้าระบบฯ กองทุนสำารอง

เลี้ยงชีพ แม้ว่าพนักงานส่วนใหญ่จะสมัครใจเข้าสู่

ระบบกองทุนสำารองเลี้ยงชีพในช่วงเวลาดังกล่าว แต่

ก็ยังมีพนักงานอีกส่วนหนึ่งที่เลือกอยู่ในระบบเดิม

ในกรณีหลังนี้ องค์กรจะบันทึกภาระผูกพันในบัญชี

กองทุนบำาเหน็จพนักงาน และบริหารจัดการเองเป็น

การภายใน อย่างไรก็ตาม ยังมีรัฐวิสาหกิจอีกหลาย

แห่งที่ยังคงใช้ระบบบำานาญแบบเดิมอยู่ ซึ่งรัฐบาลได้

เล็งเห็นถึงความไม่ยั่งยืนของระบบดังกล่าว

ดังนั้นในปี 2543 ครม. จึงมีมติให้รัฐวิสาหกิจ

ยกเลิกระบบบำานาญพนักงานแบบเดิมและให้จัดตั้ง

กองทุนสำารองเลี้ยงชีพแทนสำาหรับพนักงานเข้าใหม่

โดยให้พนักงานใส่เงินสะสม และองค์กรใส่เงินสมทบ

ตามระเบียบของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง พร้อมกับ

ให้แต่งตั้งผู้บริหารกองทุนมืออาชีพบริหารกองทุนฯ

เพื่อสร้างผลตอบแทนให้พนักงานได้รับประโยชน์ไม่

น้อยกว่าระบบบำาเหน็จบำานาญเดิม ขณะเดียวกัน

ให้องค์กรเปิดโอกาสและจูงใจให้พนักงานในระบบ

บำาเหน็จบำานาญเดิมสามารถเข้าระบบกองทุนสำารอง

เลี้ยงชีพได้แบบสมัครใจเพื่อลดภาระขององค์กร

หลังมติ ครม. ในปี 2543 รัฐวิสาหกิจส่วน

ใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการเพื่อการชราภาพ

ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังมีรัฐวิสาหกิจอีกสาม

แห่งที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตาม ได้แก่ (1) การท่าเรือแห่ง

ประเทศไทย (กทท.) (2) การรถไฟแห่งประเทศไทย

(รฟท.) และ (3) ธนาคารออมสิน

มติ ครม. ในปี 2547 ได้เร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจ

ทั้ง 3 แห่งคือ (1) กทท. (2) รฟท. และ (3) ธนาคาร

ออมสิน ให้รีบจัดตั้งกองทุนสำารองเลี้ยงชีพโดยเร็ว

เพื่อมิให้เป็นภาระกับกระทรวงการคลังต่อไปใน

อนาคต ในรายงานการประชุมของ ครม. ดังกล่าวมี

การระบุว่า ภาระบำาเหน็จบำานาญของ กทท. รฟท.

และธนาคารออมสิน อยู่ในระดับสูงคือ 600 ล้าน

1,760 ล้าน และ 500 ล้านบาทต่อปีตามลำาดับ ครม.

เห็นควรให้ดำาเนินการตามนโยบายโดยเร็วหลังจากที่

ล่าช้ามากว่า 5 ปีแล้ว พร้อมกับให้หลักการเรื่องข้อ

สมมติฐานในการคำานวณและเงื่อนไขบางประการเพื่อ

เป็นการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเข้าระบบกองทุน

สำารองเลี้ยงชีพ

หลังจากที่ ครม. มีมติดังกล่าว กทท. และ

ธนาคารออมสิน ได้จัดตั้งกองทุนสำารองเลี้ยงชีพ

พนักงานขึ้น ในปี 2548 แต่เนื่องจากยังมีพนักงาน

จำานวนหนึ่งปฏิเสธการเข้าสู่ระบบใหม่ ดังนั้น กทท.

และธนาคารออมสินจึงยังคงต้องรับรู้หนี้สินบำาเหน็จ

บำานาญพนักงานซึ่งต้องบริหารจัดการในงบการเงิน

จำานวนกว่า 1.2 และ 3.5 หมื่นล้านบาทตามลำาดับ

จนถึงปัจจุบัน ยังคงเหลืออีกหน่วยงานหนึ่งคือ การ

รถไฟแห่งประเทศไทย ที่ยังไม่ได้ดำาเนินการจัดตั้ง

กองทุนสำารองเลี้ยงชีพ องค์กรแห่งนี้ดำาเนินการเพียง

ตัดจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราส่วนร้อยละ 25 ของเงินเดือน

ค่าจ้างเข้าบัญชีกองทุนสงเคราะห์พนักงาน เพื่อเป็น

การรับรู้ภาระหนี้สินค้างจ่ายขององค์กร และเมื่อมี

การจ่ายเงินบำาเหน็จบำานาญจริงจะตัดจ่ายจากบัญชี

กองทุนสงเคราะห์ฯ นี้ ในปัจจุบันภาระบำาเหน็จบำานาญ

ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (จากการประเมินของ

กระทรวงคมนาคม) ได้พุ่งสูงขึ้นเป็นเกือบ 6 หมื่นล้าน

บาท เป็นภาระที่ รฟท. ต้องแบกรับภาระบำาเหน็จ

บำานาญสำาหรับคนประมาณ 2.5 หมื่นคน แบ่งเป็น

พนักงาน รฟท. ที่เกษียณแล้ว 1.2 หมื่นคน และ

พนักงานปัจจุบัน 1.3 หมื่นคน

การปรับตัวในยุคแรก (2539-2547)

การปรับตัวยุคที่สอง (2548 - ปัจจุบัน)

GPF JOURNAL

6