เงินบํานาญ 

ออมเงิน+ความคุ้มครอง

ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันสุขภาพที่เป็น

สัญญาเพิ่มเติมกับประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ

ที่ซื้อจากบริษัทประกันภัย รวมทั้งความคุ้มครองโรค

ร้ายแรง (เพราะโรคร้ายแรงมักจะมีค่าใช้จ่ายในการ

รักษาพยาบาลค่อนข้างสูง) ซึ่งนอกจากจะได้ความ

คุ้มครองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มขึ้นจาก

สวัสดิการที่มีอยู่แล้ว ยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีอีกด้วย

แม้ว่า ข้าราชการเกษียณจะมีเงินบำานาญที่ได้

จากการออมกับ กบข. ซึ่งน่าจะพอเพียงอยู่แล้ว แต่

เพื่อความสบายใจมากขึ้นว่า เมื่อถึงวัยเกษียณจะ

มีรายได้มากพอสำาหรับการดำาเนินชีวิตที่ดี มีโอกาส

ไปท่องเที่ยว ทำากิจกรรมที่สนใจ ก็น่าจะออมเพิ่มเติม

ด้วยตัวเองอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเลือกลงทุนผ่าน

กองทุน RMF ซึ่งเป็นกองทุนสำาหรับการออมเพื่อวัย

เกษียณ และได้สิทธิลดหย่อนภาษี และประกันชีวิต

แบบบำานาญ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

 

ประกันชีวิตแบบบำานาญ เป็นประกันชีวิต

คุ้มครองรายได้ของผู้เอาประกัน โดยเมื่อถึงวัยเกษียณ

หรืออายุที่กำาหนด เช่น 55 – 60 ปี บริษัทประกันจะ

จ่ายผลประโยชน์เป็นรายเดือน หรือรายปีอย่างสมำ่าเสมอ

จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิต หรือตามระยะเวลาที่

กำาหนดไว้ในกรมธรรม์

กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำานาญ จะแบ่ง

เป็น 2 ช่วง คือ ระยะเวลาชำาระเบี้ย เป็นช่วงที่เริ่ม

ตั้งแต่ทำาประกันจนถึงกำาหนดจ่ายเงินบำานาญ ซึ่งหาก

เสียชีวิตในช่วงนี้บริษัทประกันจะจ่ายเท่ากับเบี้ยประกัน

พร้อมผลตอบแทนตามที่กำาหนด และระยะเวลารับ

บำานาญ คือ ช่วงที่บริษัทประกันจ่ายเงินบำานาญให้ตาม

ที่ระบุไว้จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิต หรือจนกว่า

จะครบสัญญา เช่น กำาหนดระยะเวลารับบำานาญ

ตั้งแต่อายุครบ 60 ปี จนถึงอายุ 99 ปี

หากต้องการออมเงิน โดยต้องการความมั่นใจ

ว่า จะได้รับเงินตามจำานวนที่ต้องการ แม้ว่าระหว่าง

ทางจะเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น การออมเพื่อเป็นทุน

การศึกษาของลูก ประกันแบบสะสมทรัพย์จะตอบ

โจทย์ความต้องการนี้ได้ดี
 

ประกันแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันชีวิตที่

บริษัทตกลงว่าจะจ่ายเงินตามจำานวนที่ระบุไว้ให้แก่

ผู้รับประโยชน์หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายใน

ระยะเวลาที่กำาหนด หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัย

หากมีชีวิตอยู่จนครบกำาหนดสัญญาตามเงื่อนไขของ

กรมธรรม์ มีทั้งแบบชำาระเบี้ยครั้งเดียวและทยอยจ่าย

ดังนั้น นอกจากจะได้สร้างวินัยในการออมแล้ว ยังได้รับ

ความคุ้มครองชีวิต หรือซื้อสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครอง

สุขภาพร่วมด้วยก็ได้

5.

4.

แต่ไม่ว่าจะซื้อประกันแบบไหน ด้วยวัตถุประสงค์

อะไร ควรพิจารณาความสามารถในการชำาระเบี้ยร่วม

ด้วย ซึ่งอัตราที่เหมาะสมไม่ควรมีภาระในการชำาระ

เบี้ยประกันเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี รวมทั้ง

ควรวางแผนกระแสเงินสดอย่างชัดเจนเพื่อประเมิน

ความสามารถในการชำาระเบี้ยประกันได้แม่นยำามากขึ้น

นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกทำาประกันที่เป็น

สวัสดิการลดค่าใช้จ่ายของสมาชิก กบข. เช่น โครงการ

ประกันชีวิตเปี่ยมสุข ที่มีทั้งประกันชีวิตเพื่อการออม

เงินไว้สำาหรับวัยเกษียณ ยามเจ็บไข้หรือยามฉุกเฉิน

โดยให้สมาชิกสามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต

ที่เหมาะกับตนเองและครอบครัว (พ่อแม่ คู่สมรส

และบุตร) และประกันภัยเพื่อสมาชิก กบข. ที่มีทั้ง

ประกันภัยรถยนต์ และประกันอุบัติเหตุ โดยได้รับ

อัตราเบี้ยประกันพิเศษจากบริษัทประกันที่ได้รับ

คัดเลือกจาก กบข.

GPF JOURNAL

12